-
ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพและบริเวณของโรงมหรสพนั้นเพื่อโฆษณามหรสพ
-
ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้าหรือที่สิ่งหุ้มห่อ หรือบรรจุสินค้า
-
ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว
-
ป้ายที่แสดงไว้ที่คน หรือสัตว์
-
ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นหรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐาน ทั้งนี้ เพื่อหารายได้ และแต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกิน 3 ตารางเมตรที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่รวมถึงป้ายตาม กฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์
-
ป้ายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย
-
ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ
-
ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
-
ป้ายของโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น
-
ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน
-
ป้ายของวัด หรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนาหรือการกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ
-
ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ
-
ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ปัจจุบันมีกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ให้เจ้าของป้ายไม่ต้องเสียภาษีป้ายสำหรับ
-
ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนน หรือรถแทรกเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
-
ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อนตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน
-
ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะนอกเหนือจาก 2 ข้อข้างต้น โดยมีพื้นที่ไม่เกิน 500 ตารางเซนติเมตร
เครื่องมือคิดภาษีป้าย
ตัวอย่างการคำนวณภาษีป้าย
การคิดภาษีจะมีสมการ (กว้างxสูง)÷500 x อัตราภาษีตามประเภท = ภาษีที่ต้องจ่ายโดยเราจะยกตัวอย่างป้ายขนาด 1x2 เมตร มาใช้เป็นตัวอย่างการคิดสำหรับวิธีคิดดังนี้
1. แปลงหน่วยเป็นเซนติเมตร (1 เมตร = 100 ซม.)
2. คิดตามสมการสมการ (100x200)÷500 = 40 หน่วย แล้วจึงนำไปคิดอัตราภาษีป้ายตามประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1.1 ต้องจ่ายภาษี 40×5 = 200 บาท
ประเภทที่ 1.2 ต้องจ่ายภาษี 40×10 = 400 บาท
ประเภทที่ 2.1 ต้องจ่ายภาษี 40×26 = 1040 บาท
ประเภทที่ 2.2 ต้องจ่ายภาษี 40×52= 2040 บาท
ประเภทที่ 3.1 ต้องจ่ายภาษี 40×50 = 2000 บาท
ประเภทที่ 3.2 ต้องจ่ายภาษี 40×52= 2040 บาท